วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประเณีสารทเดือนสิบ

ชิงเปรต" เป็นประเพณีของภาคใต้ที่กระทำกันในวันสารท เดือน ๑๐ เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือน ๑๐ นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนมีเป้าหมายตรงกับการตั้งเปรต-ชิงเปรตเพียงบางส่วน เท่านั้น กล่าวคือการทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วย
ผู้ เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่ อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลาน ลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น


พิธีกรรม
การ ตั้งเปรต และชิงเปรตจะกระทำกันในวันที่ยกหมรับไปวัด ไม่ว่าจะเป็นวันแรม ๑ ค่ำ หรือ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ ก็ตาม ผู้ตั้งเปรตจะนำอาหารอีกส่วนหนึ่งไปเพื่อการตั้งเปรตด้วย อาหารที่ใช้ตั้งเปรตนี้ส่วนมากเป็นอาหารที่บรรพบุรุษที่เป็นเปรตชอบอย่างละ นิดอย่างละหน่อย ขนมที่ไม่ขาดคือ ขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมเบซำ(ดีซำ) นอกจากขนมดังกล่าวแล้ว ยังมีของแห้งที่ใช้เป็นเสบียงกรังก็จัดฝากไปด้วย เช่น ข้าวสาร หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล น้ำปลา กล้วย อ้อย มะพร้าว ด้าย เข็มเย็บผ้า ธูปเทียน นำลงจัดในหมรับ โดยเอาของแห้งรองก้นและอยู่ภายใน ส่วนขนมทั้งหลายอยู่ชั้นนอก ปิดคลุมด้วยผืนลาทำเป็นรูปเจดีย์ยอดแหลม หรือรูปอื่นแล้วแต่การประดิษฐ์ของผู้จัด ส่วนภาชนะที่ใช้ แต่เดิมนิยมใช้กระเชอหรือถาด นำหมรับ
ที่จัดแล้วไปวัด รวมกันตั้งไว้บน "ร้านเปรต" ซึ่งสร้างไว้กลางวัดยกเสาสูง ต่อมาในระยะหลัง ๆ ร้านเปรตทำเป็นศาลา หลังคามุงจากหรือมุงกระเบื้องแล้วแต่ฐานะของวัด บางถิ่นจึงเรียก "หลาเปรต" บนร้านเปรตจะมีสายสิญจน์วงล้อมไว้รอบและต่อยาวไปจนถึงพระสงฆ์ที่นั่งอยู่ใน วิหารที่เป็นที่ทำพิธีกรรม โดยสวดบังสุกุลอัฐิหรือกระดาษเขียนชื่อของผู้ตาย ซึ่งบุตรหลายนำมารวมกันในพิธีต่อหน้าพระสงฆ์ บุตรหลานจะกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญไปยังเปรตชนที่เป็นบรรพบุรุษ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว เก็บสายสิญจน์ ขนมต่าง ๆ จะถูกแบ่งออกส่วนหนึ่ง พร้อมกับของแห้งไว้ถวายพระ อีกส่วนหนึ่งให้เปรตชนที่พอมีกำลังเข้ามาเสพได้ ในขณะเดียวกันผู้ที่มาร่วมทำบุญทั้งหนุ่มสาว เฒ่าแก่ และโดยเฉพาะเด็ก ๆ จะเข้าไปรุมกันแย่งขนมที่ตั้งเปรตด้วยความสนุกสนาน เชื่อกันว่า การแย่งขนมเปรตที่ผ่าการทำพิธีแล้วนี้จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และยังเชื่อกันต่อไปว่าขนมเหล่านี้ถ้านำไปหว่านในสวนในนา จะทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์เพิ่มผลผลิตสูง โดยเฉพาะขนมเทียน บางแห่งนำไปติดไว้ตามต้นไม้ผลเพื่อให้มีผลดก หลังจากนั้น ก็มักมีผู้ใจบุญโปรยทาน โดยใช้เหรียญสตางค์โดยไปที่ละมากเหรียญ ตรงไปยังฝูงชน ที่เรียกว่า "หว่านกำพรึก" แย่งกันอย่างนุกสนาน


สาระ
การ ทำบุญวันสารท เดือน ๑๐ กำหนดทำ ๒ ครั้ง คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ โดยเชื่อว่า วันแรม ๑ ค่ำ เป็นวันที่ยมบาลปล่อยให้เปรต หรือเปตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลาน ๆ ก็จะทำบุญเลี้ยงต้อนรับ เมื่อถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ ก็ถือว่าเป็นวันที่ปู่ย่าตายาย ต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็ทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง
การเตรียมข้าวของ ขนม ในวันทำบุญ เดือน ๑๐
๑. ลา มีความหมายใช้แทนเสื้อผ้า
๒. พอง มีความหมายว่าเป็นเครื่องประดับ
๓. ขนมเบซำ (ขนมเจาะหู) ใช้แทนเงิน หรือสตางค์มีรูในสมัยก่อน
๔. ขนมบ้า มีความหมายว่า เงินเหรียญ
๕. ขนมเทียน ใช้แทนหมอนหนุน
การ ชิงเปรต เป็นประเพณีที่ชาวพัทลุงถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ เป็นประเพณีสำคัญที่กระทำกันจนทุกวันนี้ ชาวพัทลุงแม้จะไปทำมาหากินในท้องถิ่นอื่น เมื่อถึงเดือน ๑๐ ก็มักจะกลับมาร่วมพิธีกับญาติทางบ้าน นับเป็นการช่วยเสริมการผูกพันระหว่างครอบครัวและญาติพี่น้อง ทั้งยังเป็นการระลึกถึงบุญคุณ และคุณงามความดีของบรรพบุรุษของตน แม้จะล่วงลับไปแล้วก็ตาม

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นนามที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ขนานนามโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในกระทรวงกลาโหม เป็น "โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 องค์พระผู้พระราชทานกำเนิดสถาบันการศึกษาแห่งนี้



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะมีพระชนมายุ 15 พรรษา พระองค์ทรงสนพระทัยในกิจการทหารทุกประเภท ประกอบกับในครั้งนั้น มีบุตรราชตระกูลและข้าราชการที่มีอายุอยู่ในวัยเยาว์ เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในหลายคนด้วยกัน


พ.ศ.2411
จัดตั้ง "ทหารมหาดเล็กไล่กา" ในชั้นแรกมีจำนวนประมาณ 12 คน ทำหน้าที่ไล่กาที่บินมารบกวนข้าวสุกในเวลาทรงบาตร และได้จัดตั้งบอร์ดีการ์ดขึ้น 24 คน โดยทรงเลือกจากทหารมหาดเล็กข้าหลวงเดิม และเรียกกันว่า "ทหาร 2 โหล"


พ.ศ.2413
จัดตั้ง"กองทหารมหาดเล็ก" โดยคัดเลือกบุคคลจากมหาดเล็กหลวงได้จำนวน 72 คน และได้รวมทหาร 2 โหล เข้าสมทบอยู่ในพวกใหม่นี้ด้วย




พ.ศ.2414
เมื่อทรงจัดการทหารมหาดเล็กพอมีหลักฐานเรียบร้อยขึ้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามกองทหารมหาดเล็กนี้ว่า
"กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์"




พ.ศ.2415
จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก เพื่อสอนวิชาภาษาอังกฤษและภาษาไทย เรียกสถานศึกษาว่า "คะเด็ตทหารมหาดเล็ก" ส่วนนักเรียนเรียกว่า "คะเด็ต" ใช้เวลาศึกษา 2 ปี นักเรียนเหล่านี้นอนตามระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม


พ.ศ.2424
โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับทหารหน้าขึ้น จึงกำเนิด "คะเด็ตทหารหน้า" ขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่วังสราญรมย์ มีนักเรียนจำนวน 40 คน เรียกนักเรียนเหล่านี้ว่า "คะเด็ตทหารหน้า"


8 เม.ย. 2430
ให้รวมกรมทหารทั้ง 9 กรมได้แก่ กรมทหารบก 7 กรม ทหารเรือ 2 กรม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรียกว่า
"กรมยุทธนาธิการ"





5 ส.ค. 2430
โปรดเกล้าฯให้รวมคะเด็ตทหารมหาดเล็ก คะเด็ตทหารหน้า นักเรียนแผนที่และส่วนที่เป็นทหารสก็อต (ทหารมหาดเล็กรุ่นเยาว์สำหรับแห่โสกันต์) เข้าด้วยกัน และใช้ชื่อรวมว่า"คะเด็ตสกูล" (ภาษาอังกฤษ) โดยใช้พื้นที่บริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์ และพระราชทานกำเนิดเป็น "โรงเรียนทหารสราญรมย์" เนื่องในวันสำคัญนี้จึงถือเป็นวันพระราชทานกำเนิด แหล่งผลิตนายทหารหลักให้แก่กองทัพบก




6 ต.ค. 2440
ได้รวมกองโรงเรียนนายสิบ เข้ามาสมทบอยู่ในโรงเรียนทหารสราญรมย์ และเรียกชื่อใหม่ว่า
"โรงเรียนสอนวิชาทหารบก"



พ.ศ.2441
จัดตั้งกรมเสนาธิการ ขึ้นตรงกับกรมยุทธนาธิการ และต่อมาได้จัดตั้งกรมยุทธศึกษา ขึ้นตรงกับกรมเสนาธิการ โดยให้มีหน้าที่อำนวยการสอนแต่อย่างเดียว และตราข้อบังคับใหม่ เรียกว่า "ข้อบังคับโรงเรียนทหารบก" และได้เปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น "โรงเรียนทหารบก" เมื่อ 27 พ.ย. 2441


พ.ศ.2445
เนื่องจากโรงเรียนทหารบกที่ตั้งอยู่ริมวังสราญรมย์ ซึ่งให้การศึกษาในระดับประถมศึกษา มีจำนวนนักเรียนมากขึ้นจนสถานที่เดิมแคบลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายโรงเรียนมาตั้งที่ถนนราชดำเนินนอก มีพื้นที่ 30 ไร่เศษและขยายการศึกษาเพิ่มเป็นระดับมัธยมศึกษา


11 พ.ย. 2451
โรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพลประจำกอง โรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นมัธยม และ โรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นประถม แสดงว่านักเรียนนายร้อยไม่เพียงเรียนได้ดีเท่านั้น ยังเป็นนักเรียนที่สามารถออกศึกสงคราม เช่นเดียวกับทหารบกทั้งปวง และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย



26 ธ.ค. 2452
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเปิดโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยมอย่างเป็นทางการ



พ.ศ.2468
อันเป็นสมัยที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทำให้ต้องจัดการย้าย โรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นประถม จากบริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์ เข้ามารวมกันที่ โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม ถนนราชดำเนินนอก เรียกว่า โรงเรียนนายร้อยทหารบก และให้ยกเลิก ชั้นประถม และมัธยม


26 มี.ค. 2471
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานกระบี่และรางวัล แก่นักเรียนนายร้อยทหารบกที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดทุกคนเป็นครั้งแรก ตลอดจนถึงรัชกาลปัจจุบัน มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชทานกระบี่เป็นประจำทุกปี




พ.ศ.2477
กรมยุทธศึกษาได้มีการปรับปรุงและจัดระเบียบใหม่ ทั้งบุคคลและหน่วยงาน จึงได้มีการจัดตั้ง "โรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก" มีหน้าที่ฝึกอบรมนักเรียนที่จะเป็นนายทหารสัญญาบัตร เหล่าทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง ทหารสื่อสาร ทหารช่างแสง และช่างอากาศ สำหรับโรงเรียนนายร้อยทหารบก มีหน้าที่ฝึกอบรมนักเรียนที่จะเป็นนายทหารสัญญาบัตร เหล่าทหารราบ ทหารม้า และนายตำรวจ


3 พ.ค.2489
ยุบโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก และแผนกตำรวจในกรมยุทธศึกษาทหารบก และเปลี่ยนชื่อกรมยุทธศึกษาทหารบก เป็น "โรงเรียนนายร้อยทหารบก" และให้ขึ้นตรงต่อกองทัพบก


1 ม.ค. 2491
ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ขนานนามโรงเรียนนายร้อยทหารบก ว่า "โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า" เขียนเป็นอักษรโรมันว่า "Chulachomklao Royal Military Academy" เพื่อเป็นอนุสรณ์และเฉลิมพระเกียรติ ในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นผู้ก่อกำเนิด และได้ดำเนินกิจการเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติมาด้วยดี


ธ.ค. 2523
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ย้ายมาตั้งอยู่ที่บริเวณเขาชะโงก อำเภอเมือง ต่อกับอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก พื้นที่ประมาณ 21,000 ไร่เศษ และได้เริ่มโครงการก่อสร้าง



29 ก.ค. 2529
เคลื่อนย้ายนักเรียนนายร้อย และข้าราชการ ออกจากที่ตั้งเดิม เข้าสู่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ณ ที่ตั้งแห่งใหม่ จังหวัดนครนายก